การวัดผล AI ใน Healthcare เรื่องใหม่ที่ต้องใส่ใจก่อนเลือกใช้โซลูชั่น

การวัดผล AI ใน Healthcare เรื่องใหม่ที่ต้องใส่ใจก่อนเลือกใช้โซลูชั่น การนำเทคโนโลยี AI มาใช้นั้นน่าจะเป็นการลงทุนในการพัฒนาศักยภาพองค์กรที่คุ้มค่า แต่ในขณะเดียวกันก็มีความท้าทายจากหลากหลายปัจจัย ดังนั้นการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยี AI ก็ควรจะเลือกระบบที่มีความเหมาะสมกับความต้องการขององค์กรให้มากที่สุด ด้วยเหตุนี้เราจึงควรจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ ซึ่งจะทำให้เราสามารถเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ขององค์กรกับศักยภาพในการทำงานของ AI ได้ แต่เมื่อ AI เป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ โดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมแพทย์และสุขภาพ ในประเทศไทย เราจึงควรเรียนรู้และทำความเข้าใจกับเกณฑ์ในการวัดประสิทธิภาพของ AI เพื่อนำไปต่อยอดในการตัดสินใจเลือกใช้ระบบที่ตอบโจทย์องค์กรมากที่สุด เลือกอ่าน เทคโนโลยี AI สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรม Healthcare ได้อย่างไรบ้าง ด้วยข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จาก AI ในวงการแพทย์หลายองค์กรจึงเลือกใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว โดยข้อมูลจากการสำรวจ State of AI สำหรับอุตสาหกรรม Healthcare ที่จัดทำโดย Deloitte ได้อธิบายมุมมองที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ การลงทุน องค์กรขนาดใหญ่ที่ดำเนินการทำธุรกิจ Healthcare ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มักจะมีการลงทุนในเรื่องของ AI เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการทำงานราวๆ 75% ในขณะที่หน่วยงานระดับกลางลงทุนสูงถึงเกือบ 95% เลยทีเดียว… Continue reading การวัดผล AI ใน Healthcare เรื่องใหม่ที่ต้องใส่ใจก่อนเลือกใช้โซลูชั่น

AI ปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาเปลี่ยนวงการการแพทย์อย่างไร

AI ปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาเปลี่ยนวงการการแพทย์อย่างไร เปลี่ยนโลกนิยายไซไฟให้กลายเป็นเรื่องจริงด้วยเทคโนโลยี AI ที่จะเข้ามาพลิกโฉมวงการ Healthcare ให้ก้าวล้ำนำหน้ากว่าเดิม แม้ว่าภาพของ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ในเมืองไทยนั้นอาจจะไม่ได้เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยี AI นั้นมีความน่าสนใจและน่าจะมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกระบวนการรักษาดูแลผู้ป่วย หรือเรื่องของการจัดการภายในองค์กร โดยจากการวิจัยใน MDM Policy & Practice พบว่าการบริหารจัดการในเรื่องพื้นฐานอย่างเช่น ระบบ AI ช่วยให้บุคคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงบันทึกข้อมูลทางการแพทย์ได้รวดเร็วขึ้น และจากการสำรวจยังพบอีกด้วยว่าแพทย์ส่วนใหญ่ราวๆ 77% รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นตัวช่วยเพิ่มคุณภาพในการทำงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหากเลือกใช้ AI ให้เหมาะสมกับโครงสร้างขององค์กร ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระแพทย์และทำให้การทำงานราบรื่นได้มากยิ่งขึ้น การทำงานของ AI กับบทบาทในโลกอนาคตของวงการ Healthcare เบื้องต้นควรทำความเข้าใจก่อนว่า AI ไม่ใช่เทคโนโลยีที่ผูกขาดแต่เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความเชี่ยวชาญแต่ละสาขาในด้าน การแพทย์และสุขภาพได้มีการศึกษาและแตกแขนงเทคโนโลยี AI ออกเป็นเฉพาะด้าน ซึ่งช่วยให้ศาสตร์แต่ละแขนงถูกพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญและองค์ความรู้ในสาขานั้นๆ มากที่สุด โดย AI ไม่สามารถแทนที่องค์ประกอบที่สำคัญของการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์และการประสานงานต่างๆ ได้ แต่ระบบ AI จะเน้นในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานเสียมากกว่า ถือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระแพทย์หรือคนทำงานและยังช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานได้มากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยี AI นั้นก้าวไกลไปมากขึ้นในทุกๆ… Continue reading AI ปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาเปลี่ยนวงการการแพทย์อย่างไร

Data Security เก็บข้อมูลอย่างไรให้ปลอดภัย

Data Security เก็บข้อมูลอย่างไรให้ปลอดภัย คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ไม่ควรมองข้าม ต้องมีปัญหา “ความปลอดภัยของข้อมูล” (Data Security) โดยเฉพาะวงการธุรกิจการแพทย์และสุขภาพ ที่ต้องตอบโจทย์การทำงานทางไกลได้ ทำให้สถานพยาบาลหลาย ๆ แห่ง เริ่มให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลให้รอดพ้นจากอาชญากรทางไซเบอร์นำข้อมูลต่างๆ ไปใช้ในทางที่ผิด อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการป้องกันมากขนาดไหน แต่สุดท้ายก็พบช่องโหว่ให้สร้างภัยคุกคามต่างๆ โดยแฮ็กเกอร์ได้ ทั้งความผิดพลาดทางเทคนิคของคนเราหรือปัจจัยภายนอกองค์กร เลือกอ่าน ความปลอดภัยของข้อมูล สำคัญกว่าที่คุณคิด จากสถิติของ Critical Insight บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำ เปิดเผยข้อมูลเวชรด้านสุขภาพที่ได้รับการคุ้มครองของผู้ป่วยในปี 2021 ที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนผู้ถูกละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์มากที่สุดเป็นประวัติการณ์มากกว่า 45 ล้านคนเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากปี 2020 ถึง 11 ล้านคน นอกจากนี้ กระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์ของสหรัฐฯ (HHS)เปิดเผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า การละเมิดข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลในปี 2022 เพิ่มสูงถึง 686 รายการ และอาจมีแนวโน้มที่ปริมาณการละเมิดข้อมูลด้านสุขภาพ จะแตะไปถึง 700 รายการในอนาคต ในจำนวนนี้มีเกือบ 80 รายการที่ส่งผลกระทบต่อการดูแลสุขภาพของบุคคลมากกว่า 1 แสนราย… Continue reading Data Security เก็บข้อมูลอย่างไรให้ปลอดภัย

10 เทรนด์เทคโนโลยีสุขภาพที่น่าจับตามองในปี 2022

10 เทรนด์เทคโนโลยีสุขภาพที่น่าจับตามองในปี 2022 อุตสาหกรรมการแพทย์และการดูแลสุขภาพในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งเรื่องของการดูแลสุขภาพตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต การรักษาโรคด้วยยา เวชภัณฑ์ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวมไปถึงเทคโนโลยีการรักษาที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ไม่เว้นถิ่นทุรกันดารด้วยระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งในปี 2022 นี้ จะมีแนวโน้มการเกิดเทรนด์เทคโนโลยีดูแลสุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่น่าสนใจมากมาย มาดูกันว่า จะมีอะไรที่น่าสนใจและมีกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างไรกันบ้าง รวม 10 เทรนด์เทคโนโลยีสุขภาพที่น่าจับตามองปี 2022 เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ (Artificial Intelligence – AI) การแพทย์ทางไกล ห่างกันขนาดไหนก็รักษาได้ทันท่วงที (Telemedicine together with Internet of Things/Wearables) การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้านการดูแลสุขภาพ (Healthcare Cybersecurity) จีโนมมนุษย์และยาเฉพาะบุคคล (Personalized Medicine and Genomics) คู่เสมือนดิจิทัล (Digital Twins and Simulations) เทคโนโลยีชีววิศวกรรม (Bio Convergence) เทคโนโลยีจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงสามมิติ (Augmented Reality, Virtual Reality, Mixed… Continue reading 10 เทรนด์เทคโนโลยีสุขภาพที่น่าจับตามองในปี 2022

ทำความรู้จักกับ Inspectra CXR ผู้ช่วยแพทย์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

ทำความรู้จักกับ Inspectra CXR ผู้ช่วยแพทย์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ Inspectra คืออะไร “Inspectra CXR” เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้ามาช่วยแพทย์ในการคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อในปอด ของบริษัท เพอเซ็ปทรา จำกัด Healthtech Startup ในประเทศไทย ตัวระบบ AI ช่วยแยกความรุนแรงของผู้ติดเชื้อ และทำให้สามารถบ่งชี้ผู้ที่มีความจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนได้อย่างชัดเจน เทคโนโลยีนี้เองที่จะสามารถตอบโจทย์เรื่องการจัดการทรัพยากรทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น Inspectra CXR ได้รับการพัฒนามาจากภาพถ่ายรังสีทรวงอกกว่า 1.5 ล้านภาพ และใช้เวลาในการวิจัยพัฒนามากว่า 2 ปี เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติที่พบได้ทั่วไปจากภาพถ่ายรังสีทรวงอกได้ถึง 8 สภาวะ และผลลัพธ์ที่ได้มีความแม่นยำมากกว่า 94% จากการทดสอบการอ่านผลภาพถ่ายรังสีทรวงอกของคนไทยกว่า 100,000 ภาพ จนได้รับการยอมรับจากแพทย์ผู้ใช้งานในวงกว้างทั้งในและต่างประเทศ ทางบริษัทฯ จึงได้นำผลลัพธ์ไปต่อยอดให้แพทย์ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั้งโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ และโรงพยาบาลขนาดใหญ่และเล็กทั่วประเทศ โดยการใช้งานในโรงพยาบาลจะเป็นการเชื่อมต่อระบบ Inspectra CXR เข้ากับระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล ทำให้แพทย์ผู้ใช้งานสามารถใช้งานระบบได้อย่างสะดวก และไม่กระทบรูปแบบการทำงานเดิม ทำให้ช่วยลดระยะเวลาและภาระงานของแพทย์รังสีในการอ่านภาพถ่ายรังสีทรวงอกได้มากถึงร้อยละ 70 ระบบดังกล่าวเกิดขึ้นจากบริษัท เพอเซ็ปทรา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI เข้าผนึกความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล… Continue reading ทำความรู้จักกับ Inspectra CXR ผู้ช่วยแพทย์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

ทำไม Covid-19 ถึงตรวจเจอยาก

ทำไม Covid-19 ถึงตรวจเจอยาก ทำไม Covid-19 ถึงตรวจเจอยาก แล้วอะไรล่ะที่จะมาช่วยให้ตรวจเจอ? ทราบหรือไม่ความร้ายกาจของเจ้าโคโรน่าไวรัส (novel coronavirus 2019) นั้นอยู่ตรงที่ความสามารถที่ตัวไวรัสนั้นจะสามารถซ่อนตัวอยู่ในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง หรือ แถวหลอดลมลงจนไปถึงขั้วปอดของคนเรานั่นเอง ซึ่งในช่วงแรก ๆ ผู้ป่วยอาจจะไม่แสดงอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ออกมาให้เห็นเลย ทำให้การตรวจยืนยันโคโรน่าไวรัสนั้น ลำบากขึ้นไปอีก เพราะถ้ามีการเก็บ sample เฉพาะระบบทางเดินหายใจส่วนบนก็อาจทำให้ตรวจเชื้อไม่พบ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การแพร่กระจายเกิดขึ้นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ปัจจุบันวิธีการตรวจมาตราฐาน (Gold standard) ที่ใช้ในการตรวจสกรีนโรคโควิด 19 นั้นคือการนำเสมหะไปตรวจโดยใช้เทคนิค real-time reverse-transcriptase polymerase chain reaction (rRT-PCR) คือการตรวจหาสารพันธุกรรมว่ามีการเรียงตัวเหมือนเจ้าโคโรน่าไวรัส 2019 (SARS-CoV-2) นี้หรือไม่  ซึ่งวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ทันสมัยและมีโอกาสการตรวจพบมากที่สุด และรู้ผลได้ในระยะเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ซึ่งในหลายประเทศพยายามที่จะผลิต test kit ให้ประชาชนสามารถตรวจได้ในวงกว้างมากขึ้น ลดอัตราความเสี่ยงในการพบปะผู้คนระหว่างการเดินทางไปตรวจ ทราบหรือไม่ความร้ายกาจของเจ้าโคโรน่าไวรัส (novel coronavirus… Continue reading ทำไม Covid-19 ถึงตรวจเจอยาก

อุปสรรคสำคัญในการสร้างปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ในประเทศไทย

อุปสรรคสำคัญในการสร้างปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ในประเทศไทย อุปสรรคสำคัญในการสร้างปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ในประเทศไทย กว่าหนึ่งปีแล้วที่บริษัทเพอเซ็ปทราทำงานอย่างมุ่งมั่นที่จะทำให้ปัญญาประดิษฐ์สามารถตรวจโรคจากภาพถ่ายทางการแพทย์ได้ในโลกจริง ความฝันของเราคือการทำให้ AI สามารถตรวจพบความผิดปกติในรูปถ่ายเอกซเรย์ เพื่อคัดกรองโรคที่ฆ่าชีวิตคนไทยได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น เช่น มะเร็งปอด ปอดติดเชื้อ ถุงลมโป่งพอง และวัณโรค เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายได้ และเราอยากเห็นทุกโรงพยาบาลในประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากเอไอโดยทั่วกันแม้ว่าการนำเอาปัญญาประดิษฐ์มาตรวจภาพถ่ายทางการแพทย์ ไม่ใช่เรื่องใหม่แล้วในสังคมของนักวิชาการ มีหลายทีมในโลกนี้ที่อ้างว่า AI สามารถตรวจเช็คโรคได้แบบมีความแม่นยำเทียบเท่ารังสีแพทย์ ในฐานะคนทำงานด้านเทคโนโลยี เราก็เกิดความสงสัยว่า ทำไมเอไอเหล่านี้จึงไม่อยู่ในโรงพยาบาลทุกแห่ง วันนี้ทีมเพอเซ็ปทราอยากจะมาเล่า 3 อุปสรรคหลักที่เราพบเจอในเส้นทางของการนำปัญญาประดิษฐ์ออกสู่มวลชน “AI ที่สามารถตรวจภาพถ่ายเอกซเรย์ในต่างประเทศได้ ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถตรวจภาพของคนไทยได้” ปัญหาใหญ่ในการสร้างปัญญาประดิษฐ์คือปัญหา “Overfitting” ถ้าจะอธิบายคำนี้ง่ายๆ ให้คนที่ไม่ได้มีพื้นฐานด้านเทคนิคเข้าใจ มันคือปัญหาที่คอมพิวเตอร์รู้จักภาพ แต่ไม่ได้เข้าใจภาพจริงๆ เช่น คอมพิวเตอร์อาจจะเคยเห็นภาพปอดเอกซเรย์ที่มีก้อนเนื้ออยู่ตรงปอดด้านขวา และมันสามารถจำภาพนั้นได้และเมื่อเจอภาพนั้นอีกครั้งก็อาจจะบอกได้ว่ามีก้อนเนื้ออยู่ แต่มันไม่ได้เข้าใจว่า “ก้อนเนื้อ” หน้าตาเป็นอย่างไร พอเราเอาภาพเอกซเรย์ที่มีก้อนเนื้ออยู่ตรงปอดด้านซ้าย คอมพิวเตอร์กลับไม่สามารถบอกได้ว่ามีก้อนเนื้ออยู่ เพราะที่ผ่านมามันท่องจำ แต่ไม่ได้เข้าใจจริงๆ ปัญญาประดิษฐ์แม้จะฉลาดมากก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความไม่เฉลียว และสามารถถูกหลอกได้ง่ายมาก ภาพจากโรงพยาบาลไทยที่ถ่ายจากคนไข้ไทย ไม่ได้เพียงแต่มีสรีระที่แตกต่างจากภาพจากโรงพยาบาลต่างชาติ แต่เครื่องไม้ เครื่องมือในการถ่าย วิธีการตั้งค่าความเข้มของเอกซเรย์ ความสว่าง ความคมชัด จนกระทั่งสถิติของการเกิดโรค ล้วนแล้วแต่มีผลทำให้ภาพที่ออกมาแตกต่างกัน… Continue reading อุปสรรคสำคัญในการสร้างปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ในประเทศไทย