สมาคมด้านปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยและกลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยี จับมือร่วมกันพัฒนามาตรฐานปัญญาประดิษฐ์ในประเทศ

เมื่อวันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 ทางด้านศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และอีก 11 บริษัทด้านเทคโนโลยีและ Certification Body ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนามาตรฐานปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย โดยมีวัตุประสงค์เพื่อร่วมกันสร้างมาตรฐานแนวทางในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ พัฒนาแนวทางที่จะช่วยให้ผู้พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สามารถพัฒนาเทคโนโลยีตามมาตรฐาน และสร้างความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนามาตรฐานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยบริษัทที่เข้าร่วมการลงนามมีดังต่อไปนี้ บริษัท กสิกรแล็บส์ จำกัด บริษัท ไอเซ็ม จำกัด บริษัท ไอแอพ เทคโนโลยี จำกัด บริษัท ไซแนปส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แอ็คโคเมท จำกัด บริษัท เอไอไนน์ จำกัด บริษัท ไวท์ไซท์ ประเทศไทย จำกัด บริษัท โพรเมซส์ จำกัด บริษัท บอทน้อยคอนซัลติ้ง จำกัด บริษัท เพอเซ็ปทรา จำกัด บริษัท อัลโต้เทค โกลบอล จำกัด… Continue reading สมาคมด้านปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยและกลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยี จับมือร่วมกันพัฒนามาตรฐานปัญญาประดิษฐ์ในประเทศ

Inspectra CXR ผ่านการทดสอบจากราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย

เพอเซ็ปทรายื่นทดสอบระบบ Inspectra CXR โครงการแบบทดสอบปัญญาประดิษฐ์สำหรับคัดกรองวัณโรคปอดในภาพถ่ายรังสีทรวงอกของกลุ่มประชากรไทย พบว่า เมื่อนำผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบเปรียบเทียบเกณฑ์ WHO TTP ระบบ Inspectra CXR ผ่านเกณฑ์ Triage test ทั้งใน Minimal Requirements และ Optimal Requirements และผ่านเกณฑ์ Smear-replacement test และ Non-sputum based biomarker test สําหรับเกณฑ์ Minimal Requirements เพอเซ็ปทรายื่นทดสอบระบบปัญญาประดิษฐ์ Inspectra CXR ในโครงการแบบทดสอบปัญญาประดิษฐ์สำหรับคัดกรองวัณโรคปอดในภาพถ่ายรังสีทรวงอกของกลุ่มประชากรไทย โดยรายงานผลการทดสอบจากราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย ทดสอบใช้กับภาพถ่ายรังสีทรวงอกกรณีดังนี้ คัดกรอง (screening) วัณโรคปอด อ่านผลซ้ำ (Double reading) ให้กับรังสีแพทย์เพื่อเพิ่มคุณภาพการวินิจฉัย เพิ่มความแม่นยำในการค้นหาพยาธิสภาพให้กับรังสีแพทย์ ประเมิณความยาก-ง่าย ในการแปลผล จัดลำดับความเร่งด่วน (triage) ให้กับรังสีแพทย์ ในการทดสอบนี้ได้ใช้ภาพถ่ายจำนวน 300 ภาพ ที่ถูกสุ่มจากภาพถ่ายทั้งหมด 1,500… Continue reading Inspectra CXR ผ่านการทดสอบจากราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย

5 แนวโน้มเทคโนโลยีสุขภาพ 2023

รวบรวมแนวโน้มเทคโนโลยีสุขภาพที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 จากการคาดการณ์โดยบริษัทชั้นนำในอุตสหกรรมการแพทย์

ทำไมมะเร็งเต้านมถึงน่ากลัว

ทำไมมะเร็งเต้านมถึงน่ากลัว มะเร็งเต้านม นับเป็นภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้ามโดยเฉพาะผู้หญิงไทยและทั่วโลก เพราะเป็นโรคมะเร็งอันดับ 1 ในผู้หญิง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุด และเพิ่มขึ้นทุกปีสำหรับผู้หญิง จนกลายเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั่วโลก ในทุก ๆ 2 นาทีจะมี  ผู้หญิงอย่างน้อย 1 คนที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม ทั้งนี้หลายคนมักเข้าใจผิดว่าโรคนี้เป็นเฉพาะผู้หญิง ผู้ชายก็เป็นโรคมะเร็งเต้านมด้วยเช่นกัน แถมมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ไม่น้อย เพราะไม่แสดงอาการให้เห็นชัด กว่าจะรู้ตัวอาการจะรุนแรงเกินรักษาแล้ว ฉะนั้น เรามาดูกันว่า ทำไมมะเร็งเต้านมถึงน่ากลัวและไม่ควรมองข้าม เพื่อป้องกันและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ได้ แต่ถ้าอยากรู้ว่าต้องรักษาไวแค่ไหนถึงจะทันสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาหายก่อน มะเร็งเต้านม โรคร้ายคร่าชีวิตคนมากมาย อย่างที่กล่าวตั้งแต่ต้นว่า มะเร็งเต้านมเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั่วโลก เช่นที่สหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้หญิง 1 ใน 8 จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมตลอดชีวิต ซึ่งในปี 2022 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะลุกลามรายใหม่สูงกว่า 287,500 คน และอาจมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้สูงมากกว่า 43,500 ราย โดยมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงชาวอเมริกันเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด นอกจากนั้น การวินิจฉัยโรคมะเร็งในผู้ป่วยหญิงใหม่ทั้งหมดในปีนี้ อาจเป็นมะเร็งเต้านมราว… Continue reading ทำไมมะเร็งเต้านมถึงน่ากลัว

AI Ethics จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์สำคัญอย่างไร

AI Ethics จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์สำคัญอย่างไร วิทยาการทางการแพทย์มีการพัฒนาและการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การทำงานของแพทย์ส่งผลที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วย แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ เทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นจะเพียงพอและครอบคลุมต่อความต้องการหรือไม่ โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทยที่ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ และมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นสิ่งที่จะตามมาก็คือ ประสิทธิภาพในการรักษา ระยะเวลาในการดูแลและค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ในปัจจุบันอาจจะยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งปัญหาเหล่านี้กำลังเป็นปัญหาใหญ่ นอกจากไทยแล้ว ทางซีกโลกตะวันตกก็กำลังประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน โดยพบว่าภายในปี พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050) หนึ่งในสี่ของประชากรในยุโรปและอเมริกาเหนือจะมีอายุเกิน 65 ปี ซึ่งหมายความว่าระบบโครงสร้างสุขภาพจะต้องดูแลผู้ป่วยที่มีความต้องการที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในอนาคต ดังนั้นการพัฒนาของ ‘AI’ หรือปัญญาประดิษฐ์จึงถือว่าเข้ามาได้ถูกจังหวะ เพราะหลายคนเชื่อกันว่า AI อาจจะเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เลือกอ่าน AI กับบทบาททางการแพทย์ ข้อมูลของบริษัท McKinsey ที่ร่วมกับ EIT Health ของสหภาพยุโรปพบว่าเทคโนโลยี AI มีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของการบริการทางด้านสุขภาพได้ แต่ทั้งนี้เนื่องจาก AI เป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ การขยับขยายจึงอาจจะใช้เวลาอยู่พอสมควร ส่วนประเทศไทยนั้น เราอาจจะยังไม่ค่อยเห็น AI กับบทบาททางการแพทย์มากเหมือนเช่นในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร แต่หากลองหาข้อมูลแบบเจาะลึกจะพบว่าเทคโนโลยี AI กำลังถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ในหลายองค์กรทั่วประเทศ และด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ปฏิบัติงานอาจจะเกิดข้อสงสัยว่า “การใช้ AI นั้นจะส่งผลกระทบในด้านจริยธรรมหรือไม่”… Continue reading AI Ethics จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์สำคัญอย่างไร

มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาหายก่อน

มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาหายก่อน แค่พูดชื่อมะเร็งเต้านมสาว ๆ ก็อาจจะเริ่มหวั่นใจและนึกถึงความร้ายแรงของโรคเนื่องจากมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงไทยและก็ยังเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตหญิงสหรัฐเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด แต่ถึงอย่างไรตามความน่ากลัวของมะเร็งเต้านมจะถูกลดลงไปหากเราตรวจพบไวขึ้น การตรวจหามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการตรวจด้วยตนเองทุก ๆ เดือน การตรวจโดยเจ้าหน้าที่ (Clinical Breast Examination) ตรวจอัลตราซาวด์ และตรวจแมมโมแกรมซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับว่าแม่นยำที่สุดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการตรวจแมมโมแกรมก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากไม่ใช่ทุกช่วงอายุจะเหมาะกับการตรวจแมมโมแกรมไปเสียทีเดียว จึงอาจจะต้องทำการตรวจอัลตราซาวด์ควบคู่ไปด้วยหรือใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วย แต่ถึงอย่างนั้นเองเราก็ควรตรวจด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอแม้ไม่มีอาการเพราะอย่าลืมว่า ยิ่งตรวจเร็ว ยิ่งมีโอกาสรักษาให้หายได้ เรามาดูกันดีกว่าว่าที่บอกว่าเร็ว ต้องเร็วแค่ไหนกัน ต้องตรวจไวแค่ไหนถึงจะรักษาทัน โดยทั่วไปเราควรจะตรวจเช็คหาอาการผิดปกติก่อนที่ร่างกายจะอาการใดๆแสดงออกมา การที่เราหาความผิดปกติเจอก่อนนั้นก็มีโอกาสสูงว่าจะเป็นเพียงแค่ระยะแรกเริ่ม ทำให้เรามีโอกาสรักษาให้หายขาดได้มากขึ้นนั่นเอง  ดังนั้นหากถามว่าต้องตรวจไวแค่ไหนถึงจะทัน คำตอบก็คงจะเป็นตรวจไวที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ผู้หญิงต่างวัย ต่างความเสี่ยง ก็จะมีวิธีการตรวจคัดกรองที่ต่างกันออกไป อย่างเช่น ในผู้หญิงที่ครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม ก็อาจจะต้องเข้ารับการตรวจด้วยแมมโมแกรมเร็วขึ้นกว่าผู้หญิงที่ครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม จากข้อมูลศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี แนะนำแนวทางการตรวจคัดกรองไว้ดังนี้ แนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละครั้งและตรวจโดยแพทย์ทุก 3 ปี ผู้หญิงอายุ 40 – 69 ปี… Continue reading มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาหายก่อน

ข้อดีและข้อเสียของ AI ทางการแพทย์

ข้อดีและข้อเสียของ AI ทางการแพทย์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ทางการแพทย์กำลังเข้ามามีบทบาทและช่วยเสริมการทำงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในระบบ Healthcare ได้ในหลากหลายส่วน ซึ่งตอบรับกับความต้องการทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมีมากยิ่งขึ้น ดังนั้น AI จึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพและธุรกิจต่างๆ พยายามเรียนรู้และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ แม้ว่า AI จะมีประโยชน์มากมายสักเพียงใด แต่ก็ยังมีประเด็นที่เป็นข้อกังขาอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของข้อดีและข้อเสียในการปฏิบัติงานโดยพึ่งพาอัลกอริทึมและเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์สำหรับการดูแลผู้ป่วย เลือกอ่าน ข้อดีของ AI ทางการแพทย์ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน สำหรับวงการการแพทย์และสุขภาพ นั้น AI มีบทบาทที่สำคัญมาก โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 หลายองค์กรได้นำ AI เข้ามาช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งนี้ก็เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19  ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด เช่น การใช้โมเดลการพยากรณ์ที่ขับเคลื่อนโดย AI สามารถคาดการณ์ผลกระทบของ COVID-19 ต่อสถานพยาบาลและผู้ป่วยได้ ซึ่งเป็นผลทำให้สถานพยาบาลสามารถเตรียมพร้อมในด้านการขนส่งผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีมากขึ้น นอกจากนี้โรงพยาบาลบางแห่งยังใช้ AI ในการช่วยวิเคราะห์ความต้องการในการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ระบบ AI ช่วยวิเคราะห์จำนวนผู้ป่วยที่อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือฟอกไต ประมวลผลได้รวดเร็วทันใจทำให้งานเสร็จไวมากยิ่งขึ้น การใช้สมองกลของ AI นั้นมีประโยชน์ต่องานที่ต้องจัดการบริหารและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นจำนวนมาก โดย AI… Continue reading ข้อดีและข้อเสียของ AI ทางการแพทย์

ทำอย่างไรไม่ให้ AI แย่งงาน

ทำอย่างไรไม่ให้ AI แย่งงาน “AI จะแย่งงานไหม” หรือ “สักวัน AI จะเข้ามาทำงานนี้แทนไหม” อาจจะเป็นคำถามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับใครหลาย ๆ คน แม้ว่าจะมีคำอธิบายมากมายจากหลายแหล่งเกี่ยวกับ AI ทางการแพทย์ว่า การทำงานของ AI จะเพิ่มประสิทธิภาพได้มากที่สุดก็ต่อเมื่อนำมาประยุกต์ใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็ยังวิตกกังวลว่าปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์หรือ AI จะมาแย่งงานเราหรือไม่ ซึ่งความกังวลเหล่านี้จะจางหายไป หากเรารู้และเข้าใจว่าแท้จริงแล้ว AI ทำงานร่วมกับแพทย์ได้อย่างไรบ้าง ดังนั้นเราลองมาทำความเข้าใจการทำงานของ AI ในอุตสาหกรรม Healthcare เพื่อเรียนรู้ว่าหัวใจสำคัญของ AI ทางการแพทย์ในแต่ละส่วนนั้นช่วยอะไรและมีเรื่องใดที่มนุษย์ควรเรียนรู้เพื่อปรับตัวก่อนที่จะนำ AI มาใช้ในองค์กร เรียนรู้วิธีใช้ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์เพื่อการจัดการองค์กร หากติดตามข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับ AI ทางการแพทย์ หลายคนมักจะเคยได้ยินว่า AI นั้นฉลาดล้ำจนถึงขั้นที่มีการใช้ AI วินิจฉัยโรคเลยก็ว่าได้ แต่จากการสำรวจของ OLIVE ผู้ให้บริการ AI ทางการแพทย์แห่งหนึ่งพบว่า หลังจากที่มีนำระบบ AI เข้ามาใช้การทำงาน กระบวนการต่างๆ ก็มีความเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น โดยปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ช่วยในการตรวจสอบคุณสมบัติและกระบวนการในการขออนุญาตได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้การที่… Continue reading ทำอย่างไรไม่ให้ AI แย่งงาน

AI ช่วยวินิจฉัยโรคอะไรได้บ้าง

AI ช่วยวินิจฉัยโรคอะไรได้บ้าง การใช้ AI เข้ามาช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ช่วยให้แพทย์สามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้น โดย AI ทางการแพทย์นั้นถูกออกแบบมาหลากหลายแขนงเฉกเช่นเดียวกับแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ซึ่งการใช้ AI ช่วยวิเคราะห์นั้นถือเป็นการเสริมกำลังให้แก่ทีมแพทย์และช่วยยกระดับในการรักษาให้กับผู้ป่วย ดังนั้นหากเลือกใช้ AI ให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน AI ก็จะเป็นเหมือนเครื่องมืออันทรงพลังที่แพทย์สามารถนำมาใช้ช่วยในการค้นหาแนวทางรักษาที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วยได้ ดังนั้นลองมาดูกันว่า AI ทางการแพทย์มีอะไรบ้าง เลือกอ่าน AI วินิจฉัยโรคกับชีวิตประจำวัน การใช้ AI วินิจฉัยโรคทางการแพทย์สามารถทำได้ตั้งแต่ในระดับเบื้องต้นไปจนถึงระดับที่ซับซ้อน แต่ AI ทางการแพทย์ไม่จำเป็นจะต้องถูกใช้ในสถานพยาบาลเท่านั้น เพราะบริษัทระดับโลก ต่างก็เริ่มออกอุปกรณ์ด้านสุขภาพที่เราสามารถสวมใส่ติดตัวได้ตลอดเวลา อาทิเช่น Smartwatch หรือ Heart Rate Monitor ซึ่งทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่จะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ด้านสุขภาพไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ FitBit, Garmin หรือ Apple Watch ซึ่งคุ้นเคยกันดี อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยบันทึกข้อมูลทางสุขภาพได้ตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน เช่น การดื่มน้ำในแต่ละวัน การพักผ่อน การออกกำลังกาย ไปจนถึงระดับความดันโลหิตและชีพจร นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีที่กำลังรุดหน้า ทำให้มีความพยายามผสานการทำงานเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรง เช่น… Continue reading AI ช่วยวินิจฉัยโรคอะไรได้บ้าง

จะดีอย่างไรถ้าแพทย์และ AI ทำงานร่วมกัน

จะดีอย่างไรถ้าแพทย์และ AI ทำงานร่วมกัน ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ทางการแพทย์กลายเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไปสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะในปัจจุบันการผสมผสานการทำงานระหว่างมนุษย์และ AI ทางการแพทย์นั้นถูกผนึกรวมไว้เข้าด้วยกันเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ถูกนำมาใช้ในหลายฟังก์ชัน อาทิเช่น วิทยาศาสตร์การแพทย์ การบริหารจัดการข้อมูล การค้นพบและการพัฒนายา การปรับปรุงการสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วยหรือแม้แต่การใช้ AI วินิจฉัยโรค และยังมีอีกหลายอย่างที่ AI ทางการแพทย์สามารถเติมเต็มการทำงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายสูงสุดของสถานพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานอย่างฉลาดและรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์เริ่มทำให้หลายคนกังวลว่ามนุษย์จะถูกแทนที่ด้วย AI แต่จากข้อมูลของ MIT Technology Review Insights และ GE Healthcare พบว่าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเกือบครึ่งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษกล่าวว่าการที่ AI ทำงานร่วมกับแพทย์จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ในเชิงบวกให้ทั้งแพทย์และผู้ป่วย โดย AI ช่วยให้แพทย์สามารถใช้เวลากับผู้ป่วยและให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ จากการสำรวจนี้ทำให้เราเห็นว่าแท้จริงแล้ว การที่ AI ทำงานร่วมกับแพทย์ต่างหากที่จะช่วยเกื้อกูลการทำงานให้สำเร็จลุล่วงได้ นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ในด้านคุณภาพชีวิตของผู้คนนับล้านคนให้ดีขึ้นได้อีกด้วย ผลลัพธ์แห่งการผนึกกำลังเมื่อ AI ทำงานร่วมกับแพทย์ AI วินิจฉัยโรคช่วยให้แพทย์ทำงานได้คล่องตัวมากขึ้น มีการศึกษาหลายชิ้นที่ค้นพบว่า AI ทางการแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างจากการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Medical Internet Research พบว่าอัลกอริทึมการเรียนรู้เชิงลึกใน AI ทางการแพทย์สามารถระบุมะเร็งผิวหนังได้ โดยทั่วไป AI จะสามารถวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยได้ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากบันทึกด้านสุขภาพและภาพการวินิจฉัยจาก… Continue reading จะดีอย่างไรถ้าแพทย์และ AI ทำงานร่วมกัน