รวบรวมแนวโน้มเทคโนโลยีสุขภาพที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 จากการคาดการณ์โดยบริษัทชั้นนำในอุตสหกรรมการแพทย์
รวบรวมแนวโน้มเทคโนโลยีสุขภาพที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 จากการคาดการณ์โดยบริษัทชั้นนำในอุตสหกรรมการแพทย์
AI Ethics จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์สำคัญอย่างไร วิทยาการทางการแพทย์มีการพัฒนาและการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การทำงานของแพทย์ส่งผลที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วย แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ เทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นจะเพียงพอและครอบคลุมต่อความต้องการหรือไม่ โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทยที่ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ และมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นสิ่งที่จะตามมาก็คือ ประสิทธิภาพในการรักษา ระยะเวลาในการดูแลและค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ในปัจจุบันอาจจะยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งปัญหาเหล่านี้กำลังเป็นปัญหาใหญ่ นอกจากไทยแล้ว ทางซีกโลกตะวันตกก็กำลังประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน โดยพบว่าภายในปี พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050) หนึ่งในสี่ของประชากรในยุโรปและอเมริกาเหนือจะมีอายุเกิน 65 ปี ซึ่งหมายความว่าระบบโครงสร้างสุขภาพจะต้องดูแลผู้ป่วยที่มีความต้องการที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในอนาคต ดังนั้นการพัฒนาของ ‘AI’ หรือปัญญาประดิษฐ์จึงถือว่าเข้ามาได้ถูกจังหวะ เพราะหลายคนเชื่อกันว่า AI อาจจะเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เลือกอ่าน AI กับบทบาททางการแพทย์ ข้อมูลของบริษัท McKinsey ที่ร่วมกับ EIT Health ของสหภาพยุโรปพบว่าเทคโนโลยี AI มีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของการบริการทางด้านสุขภาพได้ แต่ทั้งนี้เนื่องจาก AI เป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ การขยับขยายจึงอาจจะใช้เวลาอยู่พอสมควร ส่วนประเทศไทยนั้น เราอาจจะยังไม่ค่อยเห็น AI กับบทบาททางการแพทย์มากเหมือนเช่นในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร แต่หากลองหาข้อมูลแบบเจาะลึกจะพบว่าเทคโนโลยี AI กำลังถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ในหลายองค์กรทั่วประเทศ และด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ปฏิบัติงานอาจจะเกิดข้อสงสัยว่า “การใช้ AI นั้นจะส่งผลกระทบในด้านจริยธรรมหรือไม่”… Continue reading AI Ethics จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์สำคัญอย่างไร
มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาหายก่อน แค่พูดชื่อมะเร็งเต้านมสาว ๆ ก็อาจจะเริ่มหวั่นใจและนึกถึงความร้ายแรงของโรคเนื่องจากมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงไทยและก็ยังเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตหญิงสหรัฐเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด แต่ถึงอย่างไรตามความน่ากลัวของมะเร็งเต้านมจะถูกลดลงไปหากเราตรวจพบไวขึ้น การตรวจหามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการตรวจด้วยตนเองทุก ๆ เดือน การตรวจโดยเจ้าหน้าที่ (Clinical Breast Examination) ตรวจอัลตราซาวด์ และตรวจแมมโมแกรมซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับว่าแม่นยำที่สุดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการตรวจแมมโมแกรมก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากไม่ใช่ทุกช่วงอายุจะเหมาะกับการตรวจแมมโมแกรมไปเสียทีเดียว จึงอาจจะต้องทำการตรวจอัลตราซาวด์ควบคู่ไปด้วยหรือใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วย แต่ถึงอย่างนั้นเองเราก็ควรตรวจด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอแม้ไม่มีอาการเพราะอย่าลืมว่า ยิ่งตรวจเร็ว ยิ่งมีโอกาสรักษาให้หายได้ เรามาดูกันดีกว่าว่าที่บอกว่าเร็ว ต้องเร็วแค่ไหนกัน ต้องตรวจไวแค่ไหนถึงจะรักษาทัน โดยทั่วไปเราควรจะตรวจเช็คหาอาการผิดปกติก่อนที่ร่างกายจะอาการใดๆแสดงออกมา การที่เราหาความผิดปกติเจอก่อนนั้นก็มีโอกาสสูงว่าจะเป็นเพียงแค่ระยะแรกเริ่ม ทำให้เรามีโอกาสรักษาให้หายขาดได้มากขึ้นนั่นเอง ดังนั้นหากถามว่าต้องตรวจไวแค่ไหนถึงจะทัน คำตอบก็คงจะเป็นตรวจไวที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ผู้หญิงต่างวัย ต่างความเสี่ยง ก็จะมีวิธีการตรวจคัดกรองที่ต่างกันออกไป อย่างเช่น ในผู้หญิงที่ครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม ก็อาจจะต้องเข้ารับการตรวจด้วยแมมโมแกรมเร็วขึ้นกว่าผู้หญิงที่ครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม จากข้อมูลศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี แนะนำแนวทางการตรวจคัดกรองไว้ดังนี้ แนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละครั้งและตรวจโดยแพทย์ทุก 3 ปี ผู้หญิงอายุ 40 – 69 ปี… Continue reading มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาหายก่อน
ข้อดีและข้อเสียของ AI ทางการแพทย์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ทางการแพทย์กำลังเข้ามามีบทบาทและช่วยเสริมการทำงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในระบบ Healthcare ได้ในหลากหลายส่วน ซึ่งตอบรับกับความต้องการทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมีมากยิ่งขึ้น ดังนั้น AI จึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพและธุรกิจต่างๆ พยายามเรียนรู้และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ แม้ว่า AI จะมีประโยชน์มากมายสักเพียงใด แต่ก็ยังมีประเด็นที่เป็นข้อกังขาอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของข้อดีและข้อเสียในการปฏิบัติงานโดยพึ่งพาอัลกอริทึมและเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์สำหรับการดูแลผู้ป่วย เลือกอ่าน ข้อดีของ AI ทางการแพทย์ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน สำหรับวงการการแพทย์และสุขภาพ นั้น AI มีบทบาทที่สำคัญมาก โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 หลายองค์กรได้นำ AI เข้ามาช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งนี้ก็เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด เช่น การใช้โมเดลการพยากรณ์ที่ขับเคลื่อนโดย AI สามารถคาดการณ์ผลกระทบของ COVID-19 ต่อสถานพยาบาลและผู้ป่วยได้ ซึ่งเป็นผลทำให้สถานพยาบาลสามารถเตรียมพร้อมในด้านการขนส่งผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีมากขึ้น นอกจากนี้โรงพยาบาลบางแห่งยังใช้ AI ในการช่วยวิเคราะห์ความต้องการในการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ระบบ AI ช่วยวิเคราะห์จำนวนผู้ป่วยที่อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือฟอกไต ประมวลผลได้รวดเร็วทันใจทำให้งานเสร็จไวมากยิ่งขึ้น การใช้สมองกลของ AI นั้นมีประโยชน์ต่องานที่ต้องจัดการบริหารและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นจำนวนมาก โดย AI… Continue reading ข้อดีและข้อเสียของ AI ทางการแพทย์
ทำอย่างไรไม่ให้ AI แย่งงาน “AI จะแย่งงานไหม” หรือ “สักวัน AI จะเข้ามาทำงานนี้แทนไหม” อาจจะเป็นคำถามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับใครหลาย ๆ คน แม้ว่าจะมีคำอธิบายมากมายจากหลายแหล่งเกี่ยวกับ AI ทางการแพทย์ว่า การทำงานของ AI จะเพิ่มประสิทธิภาพได้มากที่สุดก็ต่อเมื่อนำมาประยุกต์ใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็ยังวิตกกังวลว่าปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์หรือ AI จะมาแย่งงานเราหรือไม่ ซึ่งความกังวลเหล่านี้จะจางหายไป หากเรารู้และเข้าใจว่าแท้จริงแล้ว AI ทำงานร่วมกับแพทย์ได้อย่างไรบ้าง ดังนั้นเราลองมาทำความเข้าใจการทำงานของ AI ในอุตสาหกรรม Healthcare เพื่อเรียนรู้ว่าหัวใจสำคัญของ AI ทางการแพทย์ในแต่ละส่วนนั้นช่วยอะไรและมีเรื่องใดที่มนุษย์ควรเรียนรู้เพื่อปรับตัวก่อนที่จะนำ AI มาใช้ในองค์กร เรียนรู้วิธีใช้ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์เพื่อการจัดการองค์กร หากติดตามข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับ AI ทางการแพทย์ หลายคนมักจะเคยได้ยินว่า AI นั้นฉลาดล้ำจนถึงขั้นที่มีการใช้ AI วินิจฉัยโรคเลยก็ว่าได้ แต่จากการสำรวจของ OLIVE ผู้ให้บริการ AI ทางการแพทย์แห่งหนึ่งพบว่า หลังจากที่มีนำระบบ AI เข้ามาใช้การทำงาน กระบวนการต่างๆ ก็มีความเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น โดยปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ช่วยในการตรวจสอบคุณสมบัติและกระบวนการในการขออนุญาตได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้การที่… Continue reading ทำอย่างไรไม่ให้ AI แย่งงาน
AI ช่วยวินิจฉัยโรคอะไรได้บ้าง การใช้ AI เข้ามาช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ช่วยให้แพทย์สามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้น โดย AI ทางการแพทย์นั้นถูกออกแบบมาหลากหลายแขนงเฉกเช่นเดียวกับแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ซึ่งการใช้ AI ช่วยวิเคราะห์นั้นถือเป็นการเสริมกำลังให้แก่ทีมแพทย์และช่วยยกระดับในการรักษาให้กับผู้ป่วย ดังนั้นหากเลือกใช้ AI ให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน AI ก็จะเป็นเหมือนเครื่องมืออันทรงพลังที่แพทย์สามารถนำมาใช้ช่วยในการค้นหาแนวทางรักษาที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วยได้ ดังนั้นลองมาดูกันว่า AI ทางการแพทย์มีอะไรบ้าง เลือกอ่าน AI วินิจฉัยโรคกับชีวิตประจำวัน การใช้ AI วินิจฉัยโรคทางการแพทย์สามารถทำได้ตั้งแต่ในระดับเบื้องต้นไปจนถึงระดับที่ซับซ้อน แต่ AI ทางการแพทย์ไม่จำเป็นจะต้องถูกใช้ในสถานพยาบาลเท่านั้น เพราะบริษัทระดับโลก ต่างก็เริ่มออกอุปกรณ์ด้านสุขภาพที่เราสามารถสวมใส่ติดตัวได้ตลอดเวลา อาทิเช่น Smartwatch หรือ Heart Rate Monitor ซึ่งทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่จะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ด้านสุขภาพไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ FitBit, Garmin หรือ Apple Watch ซึ่งคุ้นเคยกันดี อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยบันทึกข้อมูลทางสุขภาพได้ตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน เช่น การดื่มน้ำในแต่ละวัน การพักผ่อน การออกกำลังกาย ไปจนถึงระดับความดันโลหิตและชีพจร นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีที่กำลังรุดหน้า ทำให้มีความพยายามผสานการทำงานเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรง เช่น… Continue reading AI ช่วยวินิจฉัยโรคอะไรได้บ้าง
จะดีอย่างไรถ้าแพทย์และ AI ทำงานร่วมกัน ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ทางการแพทย์กลายเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไปสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะในปัจจุบันการผสมผสานการทำงานระหว่างมนุษย์และ AI ทางการแพทย์นั้นถูกผนึกรวมไว้เข้าด้วยกันเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ถูกนำมาใช้ในหลายฟังก์ชัน อาทิเช่น วิทยาศาสตร์การแพทย์ การบริหารจัดการข้อมูล การค้นพบและการพัฒนายา การปรับปรุงการสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วยหรือแม้แต่การใช้ AI วินิจฉัยโรค และยังมีอีกหลายอย่างที่ AI ทางการแพทย์สามารถเติมเต็มการทำงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายสูงสุดของสถานพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานอย่างฉลาดและรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์เริ่มทำให้หลายคนกังวลว่ามนุษย์จะถูกแทนที่ด้วย AI แต่จากข้อมูลของ MIT Technology Review Insights และ GE Healthcare พบว่าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเกือบครึ่งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษกล่าวว่าการที่ AI ทำงานร่วมกับแพทย์จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ในเชิงบวกให้ทั้งแพทย์และผู้ป่วย โดย AI ช่วยให้แพทย์สามารถใช้เวลากับผู้ป่วยและให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ จากการสำรวจนี้ทำให้เราเห็นว่าแท้จริงแล้ว การที่ AI ทำงานร่วมกับแพทย์ต่างหากที่จะช่วยเกื้อกูลการทำงานให้สำเร็จลุล่วงได้ นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ในด้านคุณภาพชีวิตของผู้คนนับล้านคนให้ดีขึ้นได้อีกด้วย ผลลัพธ์แห่งการผนึกกำลังเมื่อ AI ทำงานร่วมกับแพทย์ AI วินิจฉัยโรคช่วยให้แพทย์ทำงานได้คล่องตัวมากขึ้น มีการศึกษาหลายชิ้นที่ค้นพบว่า AI ทางการแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างจากการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Medical Internet Research พบว่าอัลกอริทึมการเรียนรู้เชิงลึกใน AI ทางการแพทย์สามารถระบุมะเร็งผิวหนังได้ โดยทั่วไป AI จะสามารถวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยได้ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากบันทึกด้านสุขภาพและภาพการวินิจฉัยจาก… Continue reading จะดีอย่างไรถ้าแพทย์และ AI ทำงานร่วมกัน
เจาะลึกเรื่องน่ารู้ว่า AI แย่งงานแพทย์หรือไม่ในอนาคต ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์หรือ AI ทางการแพทย์นั้นกำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้หลายคนเริ่มกังวลว่า AI นั้นจะมาแทนแพทย์หรือพูดง่ายๆ ว่า AI แย่งงานแพทย์หรือไม่ในอนาคต เพราะจากสิ่งที่เราเคยพบเจอในอดีต เทคโนโลยีหลายอย่างมักจะมาแทนที่พนักงานหรือแรงงานคนอยู่บ่อยครั้ง แต่สำหรับกรณีปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์นั้นแตกต่างออกไป เนื่องจากการทำงานของแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องพบปะกับคนไข้อย่างสม่ำเสมอนั้นมักมีความจำเป็นต้องใช้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เป็นหลัก ดังนั้นรูปแบบการทำงานจะเป็นในลักษณะที่ AI ทำงานร่วมกับแพทย์เพื่อช่วยให้การทำงานง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังที่ Dr. Chun Yuan Chiang ผู้ก่อตั้ง IHDPay Group บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านระบบ Health care payments ได้ให้ความเห็นไว้กับ CNBC ว่าเขาเชื่อว่า AI ทางการแพทย์นั้นแม้จะพัฒนาไปไกลและวิเคราะห์ได้แม่นยำสักเพียงใด แต่ AI ก็ไม่สามารถแทนที่ความสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วยได้อย่างทัดเทียม ค้นหาคำตอบผ่านมุมมองที่หลากหลายว่า AI แย่งงานแพทย์ได้หรือไม่ แม้ว่าคำศัพท์ที่ทรงพลังอย่างปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์หรือ AI กลายเป็นคำติดหูที่องค์กรต่างๆ เริ่มพูดถึงและให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แต่ในทางปฏิบัติคนที่ทำงานหน้างานอย่างบุคลากรทางแพทย์ก็มักจะรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ ว่า AI แย่งงานแพทย์หรือไม่ ดังนั้นเราลองมาฟังคำตอบจากหลากหลายมุมมองเพื่อนำไปประยุกต์ใช้และให้ AI ทำงานร่วมกับแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพแทนที่จะมาวิตกกังวลเสียดีกว่า คนไข้ยังคงไว้วางใจแพทย์มากกว่าปัญญาประดิษฐ์… Continue reading เจาะลึกเรื่องน่ารู้ว่า AI แย่งงานแพทย์หรือไม่ในอนาคต
การวัดผล AI ใน Healthcare เรื่องใหม่ที่ต้องใส่ใจก่อนเลือกใช้โซลูชั่น การนำเทคโนโลยี AI มาใช้นั้นน่าจะเป็นการลงทุนในการพัฒนาศักยภาพองค์กรที่คุ้มค่า แต่ในขณะเดียวกันก็มีความท้าทายจากหลากหลายปัจจัย ดังนั้นการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยี AI ก็ควรจะเลือกระบบที่มีความเหมาะสมกับความต้องการขององค์กรให้มากที่สุด ด้วยเหตุนี้เราจึงควรจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ ซึ่งจะทำให้เราสามารถเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ขององค์กรกับศักยภาพในการทำงานของ AI ได้ แต่เมื่อ AI เป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ โดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมแพทย์และสุขภาพ ในประเทศไทย เราจึงควรเรียนรู้และทำความเข้าใจกับเกณฑ์ในการวัดประสิทธิภาพของ AI เพื่อนำไปต่อยอดในการตัดสินใจเลือกใช้ระบบที่ตอบโจทย์องค์กรมากที่สุด เลือกอ่าน เทคโนโลยี AI สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรม Healthcare ได้อย่างไรบ้าง ด้วยข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จาก AI ในวงการแพทย์หลายองค์กรจึงเลือกใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว โดยข้อมูลจากการสำรวจ State of AI สำหรับอุตสาหกรรม Healthcare ที่จัดทำโดย Deloitte ได้อธิบายมุมมองที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ การลงทุน องค์กรขนาดใหญ่ที่ดำเนินการทำธุรกิจ Healthcare ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มักจะมีการลงทุนในเรื่องของ AI เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการทำงานราวๆ 75% ในขณะที่หน่วยงานระดับกลางลงทุนสูงถึงเกือบ 95% เลยทีเดียว… Continue reading การวัดผล AI ใน Healthcare เรื่องใหม่ที่ต้องใส่ใจก่อนเลือกใช้โซลูชั่น
AI ปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาเปลี่ยนวงการการแพทย์อย่างไร เปลี่ยนโลกนิยายไซไฟให้กลายเป็นเรื่องจริงด้วยเทคโนโลยี AI ที่จะเข้ามาพลิกโฉมวงการ Healthcare ให้ก้าวล้ำนำหน้ากว่าเดิม แม้ว่าภาพของ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ในเมืองไทยนั้นอาจจะไม่ได้เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยี AI นั้นมีความน่าสนใจและน่าจะมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกระบวนการรักษาดูแลผู้ป่วย หรือเรื่องของการจัดการภายในองค์กร โดยจากการวิจัยใน MDM Policy & Practice พบว่าการบริหารจัดการในเรื่องพื้นฐานอย่างเช่น ระบบ AI ช่วยให้บุคคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงบันทึกข้อมูลทางการแพทย์ได้รวดเร็วขึ้น และจากการสำรวจยังพบอีกด้วยว่าแพทย์ส่วนใหญ่ราวๆ 77% รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นตัวช่วยเพิ่มคุณภาพในการทำงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหากเลือกใช้ AI ให้เหมาะสมกับโครงสร้างขององค์กร ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระแพทย์และทำให้การทำงานราบรื่นได้มากยิ่งขึ้น การทำงานของ AI กับบทบาทในโลกอนาคตของวงการ Healthcare เบื้องต้นควรทำความเข้าใจก่อนว่า AI ไม่ใช่เทคโนโลยีที่ผูกขาดแต่เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความเชี่ยวชาญแต่ละสาขาในด้าน การแพทย์และสุขภาพได้มีการศึกษาและแตกแขนงเทคโนโลยี AI ออกเป็นเฉพาะด้าน ซึ่งช่วยให้ศาสตร์แต่ละแขนงถูกพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญและองค์ความรู้ในสาขานั้นๆ มากที่สุด โดย AI ไม่สามารถแทนที่องค์ประกอบที่สำคัญของการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์และการประสานงานต่างๆ ได้ แต่ระบบ AI จะเน้นในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานเสียมากกว่า ถือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระแพทย์หรือคนทำงานและยังช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานได้มากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยี AI นั้นก้าวไกลไปมากขึ้นในทุกๆ… Continue reading AI ปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาเปลี่ยนวงการการแพทย์อย่างไร