อุปสรรคสำคัญในการสร้างปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ในประเทศไทย

อุปสรรคสำคัญในการสร้างปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ในประเทศไทย อุปสรรคสำคัญในการสร้างปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ในประเทศไทย กว่าหนึ่งปีแล้วที่บริษัทเพอเซ็ปทราทำงานอย่างมุ่งมั่นที่จะทำให้ปัญญาประดิษฐ์สามารถตรวจโรคจากภาพถ่ายทางการแพทย์ได้ในโลกจริง ความฝันของเราคือการทำให้ AI สามารถตรวจพบความผิดปกติในรูปถ่ายเอกซเรย์ เพื่อคัดกรองโรคที่ฆ่าชีวิตคนไทยได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น เช่น มะเร็งปอด ปอดติดเชื้อ ถุงลมโป่งพอง และวัณโรค เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายได้ และเราอยากเห็นทุกโรงพยาบาลในประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากเอไอโดยทั่วกันแม้ว่าการนำเอาปัญญาประดิษฐ์มาตรวจภาพถ่ายทางการแพทย์ ไม่ใช่เรื่องใหม่แล้วในสังคมของนักวิชาการ มีหลายทีมในโลกนี้ที่อ้างว่า AI สามารถตรวจเช็คโรคได้แบบมีความแม่นยำเทียบเท่ารังสีแพทย์ ในฐานะคนทำงานด้านเทคโนโลยี เราก็เกิดความสงสัยว่า ทำไมเอไอเหล่านี้จึงไม่อยู่ในโรงพยาบาลทุกแห่ง วันนี้ทีมเพอเซ็ปทราอยากจะมาเล่า 3 อุปสรรคหลักที่เราพบเจอในเส้นทางของการนำปัญญาประดิษฐ์ออกสู่มวลชน “AI ที่สามารถตรวจภาพถ่ายเอกซเรย์ในต่างประเทศได้ ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถตรวจภาพของคนไทยได้” ปัญหาใหญ่ในการสร้างปัญญาประดิษฐ์คือปัญหา “Overfitting” ถ้าจะอธิบายคำนี้ง่ายๆ ให้คนที่ไม่ได้มีพื้นฐานด้านเทคนิคเข้าใจ มันคือปัญหาที่คอมพิวเตอร์รู้จักภาพ แต่ไม่ได้เข้าใจภาพจริงๆ เช่น คอมพิวเตอร์อาจจะเคยเห็นภาพปอดเอกซเรย์ที่มีก้อนเนื้ออยู่ตรงปอดด้านขวา และมันสามารถจำภาพนั้นได้และเมื่อเจอภาพนั้นอีกครั้งก็อาจจะบอกได้ว่ามีก้อนเนื้ออยู่ แต่มันไม่ได้เข้าใจว่า “ก้อนเนื้อ” หน้าตาเป็นอย่างไร พอเราเอาภาพเอกซเรย์ที่มีก้อนเนื้ออยู่ตรงปอดด้านซ้าย คอมพิวเตอร์กลับไม่สามารถบอกได้ว่ามีก้อนเนื้ออยู่ เพราะที่ผ่านมามันท่องจำ แต่ไม่ได้เข้าใจจริงๆ ปัญญาประดิษฐ์แม้จะฉลาดมากก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความไม่เฉลียว และสามารถถูกหลอกได้ง่ายมาก ภาพจากโรงพยาบาลไทยที่ถ่ายจากคนไข้ไทย ไม่ได้เพียงแต่มีสรีระที่แตกต่างจากภาพจากโรงพยาบาลต่างชาติ แต่เครื่องไม้ เครื่องมือในการถ่าย วิธีการตั้งค่าความเข้มของเอกซเรย์ ความสว่าง ความคมชัด จนกระทั่งสถิติของการเกิดโรค ล้วนแล้วแต่มีผลทำให้ภาพที่ออกมาแตกต่างกัน… Continue reading อุปสรรคสำคัญในการสร้างปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ในประเทศไทย