มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาหายก่อน

แค่พูดชื่อมะเร็งเต้านมสาว ๆ ก็อาจจะเริ่มหวั่นใจและนึกถึงความร้ายแรงของโรคเนื่องจากมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงไทยและก็ยังเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตหญิงสหรัฐเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด แต่ถึงอย่างไรตามความน่ากลัวของมะเร็งเต้านมจะถูกลดลงไปหากเราตรวจพบไวขึ้น

การตรวจหามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการตรวจด้วยตนเองทุก ๆ เดือน การตรวจโดยเจ้าหน้าที่ (Clinical Breast Examination) ตรวจอัลตราซาวด์ และตรวจแมมโมแกรมซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับว่าแม่นยำที่สุดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการตรวจแมมโมแกรมก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากไม่ใช่ทุกช่วงอายุจะเหมาะกับการตรวจแมมโมแกรมไปเสียทีเดียว จึงอาจจะต้องทำการตรวจอัลตราซาวด์ควบคู่ไปด้วยหรือใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วย แต่ถึงอย่างนั้นเองเราก็ควรตรวจด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอแม้ไม่มีอาการเพราะอย่าลืมว่า ยิ่งตรวจเร็ว ยิ่งมีโอกาสรักษาให้หายได้ เรามาดูกันดีกว่าว่าที่บอกว่าเร็ว ต้องเร็วแค่ไหนกัน

 

ต้องตรวจไวแค่ไหนถึงจะรักษาทัน

โดยทั่วไปเราควรจะตรวจเช็คหาอาการผิดปกติก่อนที่ร่างกายจะอาการใดๆแสดงออกมา การที่เราหาความผิดปกติเจอก่อนนั้นก็มีโอกาสสูงว่าจะเป็นเพียงแค่ระยะแรกเริ่ม ทำให้เรามีโอกาสรักษาให้หายขาดได้มากขึ้นนั่นเอง  ดังนั้นหากถามว่าต้องตรวจไวแค่ไหนถึงจะทัน คำตอบก็คงจะเป็นตรวจไวที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ผู้หญิงต่างวัย ต่างความเสี่ยง ก็จะมีวิธีการตรวจคัดกรองที่ต่างกันออกไป อย่างเช่น ในผู้หญิงที่ครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม ก็อาจจะต้องเข้ารับการตรวจด้วยแมมโมแกรมเร็วขึ้นกว่าผู้หญิงที่ครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม

จากข้อมูลศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี แนะนำแนวทางการตรวจคัดกรองไว้ดังนี้

 

แนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป
ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละครั้งและตรวจโดยแพทย์ทุก 3 ปี

ผู้หญิงอายุ 40 – 69 ปี
ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละครั้ง ตรวจโดยแพทย์ทุก 1 ปี และทำแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี ผู้ที่มีครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งรังไข่ ควรเริ่มทําการตรวจด้วยแมมโมแกรมตั้งแต่อายุที่ครอบครัวหรือญาติ สายตรงเป็นลบออก 10 ปี เช่น คุณแม่ตรวจเจอมะเร็งเต้านมตอนอายุ 45 ปี ท่านควรเริ่มตรวจตอนอายุ 35 ปี

ผู้หญิงอายุ 70 ปีขึ้นไป
ในกลุ่มนี้แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเหมาะสมเป็นรายบุคคล

การตรวจมะเร็งต้วยตนเองเราอาจจะไม่รู้แน่ชัดเท่ากับการตรวจแมมโมแกรม แต่เมือใดก็ตามที่เราพบความผิดปกติใด ๆ จะเจ็บหรือไม่เจ็บ เราไม่ควรชะล่าใจว่าคง ไม่ใช่หรอก ไม่เห็นเจ็บเลย เพราะอย่าลืมว่ามะเร็งมักจะไม่เจ็บ แต่ถ้าคลำเป็นก้อน จับแล้วเจ็บ นั่นอาจจะซีสก็ได้ ในบรรดาก้อนที่เต้านมนั้น มีโรคกลุ่มหลัก ๆ อยู่ 3 กลุ่ม คือ  1. ซีสเต้านม 2. เนื้องอกเต้านม (ไม่ร้าย) 3. มะเร็งเต้านม  ดังนั้นไม่ว่าเราจะเจอความผิดปกติอะไรก็ตามให้เรารีบไปพบแพทย์ อย่าลืมว่ายิ่งเจอไว ยิ่งรักษาหายได้

 

ทำไมต้องตรวจแมมโมแกรม

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือที่เรารู้จักคุ้นหูกันในชื่อของ CDC (Centers for Disease Control and Prevention) และหลาย ๆ โรงพยาบาลในประเทศไทยออกมาบอกเองเลยว่าการตรวจแมมโมแกรมเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สามารถตรวจหาความผิดปกติภายในเต้านม เช่น ก้อนเนื้อหรือแม้แต่หินปูนขนาดเล็กที่อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งเต้านม ปริมาณรังสีน้อยมาก และใช้เวลาไม่นาน

 

ตรวจด้วยแมมโมแกรมอย่างเดียวเพียงพอไหม

แม้ว่าใคร ๆ ต่างก็ยกให้แมมโมแกรมเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน แต่การตรวจด้วยแมมโมแกรมเองก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง จากแนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจะเห็นได้ว่าการตรวจแมมโมแกรมจะเริ่มใช้ในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือในกลุ่มที่อายุต่ำกว่า 40 ปีแต่มีความเสี่ยง เนื่องจากการตรวจแมมโมแกรมในผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 40 ปีนั้นอาจทำให้ผลคลาดเคลื่อนได้สูงและนำไปสู่การรักษาที่ไม่จำเป็นได้เพราะผู้หญิงที่อายุน้อยมีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมมากกว่าจึงอาจจะทำให้เนื้อเยื่อไปบังมะเร็งหรือเห็นผิดพลาดจากเนื้อดีกลายเป็นมะเร็งได้นั่นเอง แพทย์จึงมักแนะนำให้มีการตรวจด้วยวิธีการอัลตราซาวด์ทดแทนหรือทำควบคู่กับแมมโมแกรม เพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจนขึ้น หรือแพทย์อาจจะนำ AI เข้ามาช่วยในการหาความผิดปกติจากภาพ อย่างในปัจจุบันได้มีการนำ AI สัญชาติไทย ที่ช่วยแพทย์ตรวจจับรอยโรคจากภาพถ่ายแมมโมแกรมอย่าง ‘Inspectra MMG’ เข้ามาเป็นเพื่อนคู่คิดช่วยแพทย์อ่านภาพ โดยประสิทธิภาพของ AI ในปัจจุบันสามารถช่วยตรวจจับรอยโรคเล็ก ๆ ที่อาจมองเห็นได้ยากโดยสายตามนุษย์ เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับแพทย์และผู้ป่วยได้ว่าหากมีความผิดปกติ ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาได้ทันท่วงที

 

ที่มา

Breast Cancer Facts and Figures
What Is Breast Cancer Screening?
ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ 2563
มะเร็งเต้านม “เรื่องใกล้ตัวที่ผู้หญิงต้องระวัง”
แมมโมแกรม ตรวจเร็ว แม่นยำ ปลอดภัย

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Resources

If AI in medical imaging is inevitable, what should radiologists know? The insight led by Arunnit Boonrod, M.D. and lecturer at Department of Radiology, Khon Kaen University.
Have you ever heard that good AI needs a massive amount of data to learn? While that's certainly true, it's actually just one piece of the puzzle. Perceptra model team believes that true "good" AI in medical imaging goes beyond the size