AI ปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาเปลี่ยนวงการการแพทย์อย่างไร

AI ปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาเปลี่ยนวงการการแพทย์อย่างไร

AI ปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาเปลี่ยนวงการการแพทย์

เปลี่ยนโลกนิยายไซไฟให้กลายเป็นเรื่องจริงด้วยเทคโนโลยี AI ที่จะเข้ามาพลิกโฉมวงการ Healthcare ให้ก้าวล้ำนำหน้ากว่าเดิม แม้ว่าภาพของ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ในเมืองไทยนั้นอาจจะไม่ได้เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยี AI นั้นมีความน่าสนใจและน่าจะมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกระบวนการรักษาดูแลผู้ป่วย หรือเรื่องของการจัดการภายในองค์กร โดยจากการวิจัยใน MDM Policy & Practice พบว่าการบริหารจัดการในเรื่องพื้นฐานอย่างเช่น ระบบ AI ช่วยให้บุคคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงบันทึกข้อมูลทางการแพทย์ได้รวดเร็วขึ้น และจากการสำรวจยังพบอีกด้วยว่าแพทย์ส่วนใหญ่ราวๆ 77% รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นตัวช่วยเพิ่มคุณภาพในการทำงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหากเลือกใช้ AI ให้เหมาะสมกับโครงสร้างขององค์กร ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระแพทย์และทำให้การทำงานราบรื่นได้มากยิ่งขึ้น 

การทำงานของ AI กับบทบาทในโลกอนาคตของวงการ Healthcare

เบื้องต้นควรทำความเข้าใจก่อนว่า AI ไม่ใช่เทคโนโลยีที่ผูกขาดแต่เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความเชี่ยวชาญแต่ละสาขาในด้าน การแพทย์และสุขภาพได้มีการศึกษาและแตกแขนงเทคโนโลยี AI ออกเป็นเฉพาะด้าน ซึ่งช่วยให้ศาสตร์แต่ละแขนงถูกพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญและองค์ความรู้ในสาขานั้นๆ มากที่สุด โดย AI ไม่สามารถแทนที่องค์ประกอบที่สำคัญของการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์และการประสานงานต่างๆ ได้ แต่ระบบ AI จะเน้นในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานเสียมากกว่า ถือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระแพทย์หรือคนทำงานและยังช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานได้มากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยี AI นั้นก้าวไกลไปมากขึ้นในทุกๆ วัน ดังนั้นลองมาดูกันว่า AI สามารถเปลี่ยนแปลงวงการ การแพทย์และสุขภาพในด้านใดบ้าง 

เพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน

แน่นอนว่าอาการเจ็บป่วยมักรอไม่ได้ ดังนั้นการบริการด้านสุขภาพจึงต้องการความรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งจากการสำรวจของ PWC พบว่า AI สามารถช่วยย่นระยะเวลาในการทำงานของกระบวนการต่างๆ ได้ เช่น ในแผนกรังสีวิทยา ระบบ AI จะช่วยในการวิเคราะห์และวินิจฉัยภาพแบบอัตโนมัติ ช่วยในการจำแนกรูปภาพ โดยสามารถดึงข้อมูลจากหลาย ๆ ภาพและเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลในไฟล์ X-ray ได้อย่างเป็นระบบ สิ่งเหล่านี้ทำให้นักรังสีวิทยาสามารถทำงานได้ง่ายและเร็วขึ้น นอกจากนี้ในเทคโนโลยีใหม่ๆ ยังแสดงให้เห็นว่า AI สามารถช่วยตรวจหาเนื้องอกใน MRI และ CTs ได้อีกด้วย 

 

สื่อสารและเข้าถึงผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ได้ดีมากขึ้น

นับตั้งแต่ต้นปี2020 จนถึงปัจจุบันข่าวใหญ่อย่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ก็ยังไม่จางหายไปไหน แต่ที่น่าสนใจก็คือ ในประเทศใหญ่ๆ ที่เริ่มใช้ AI กันอย่างจริงจังนั้น ได้นำเอาวิทยาการของ AI มาปรับปรุงการสื่อสารกับกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้มีการส่งข้อมูลสู่สาธารณะชนอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพในช่วงโครงการฉีดวัคซีน Covid-19 เพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อ โดยในโครงการนี้ ทาง Walgreens เครือข่ายร้านขายยาขนาดใหญ่เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการวัคซีนในสหรัฐอเมริกาที่เลือกใช้ระบบ AI เข้ามาช่วย ดังนั้นการแจ้งข่าวถึงผู้เข้ารับวัคซีนกว่า 50 ล้านคนทางอีเมล์ในระบบของ Walgreens จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก แต่ด้วยการใช้ AI เข้ามาช่วย ก็สามารถเพิ่มสภาพคล่องให้กับการทำงานของ Walgreen ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ที่สำคัญระบบ AI นั้นสามารถเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารที่สามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายได้ดีอีกด้วย จนทำให้มีปริมาณผู้อ่านอีเมล์เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติถึง 30% เลยทีเดียว

ช่วยระบุความเสี่ยงของผู้ป่วย

ข้อมูลคนไข้และการจัดการถือเป็นงานที่ท้าทายและหนักเอาการ เนื่องจากโรงพยาบาลส่วนใหญ่มักจะจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยทั้งเก่าและใหม่ในปริมาณที่มากมายมหาศาล หลายครั้งการค้นประวัติผู้ป่วยต้องใช้เวลาและเสียทรัพยากรบุคคล แต่ด้วยการวิเคราะห์จากโซลูชัน AI จะช่วยแบ่งเบาภาระแพทย์โดยให้ทีมแพทย์เรียกดูข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยระบุผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการกลับเข้ารับการรักษาอีกครั้งได้ ซึ่งในปัจจุบันผู้ให้บริการด้าน AI กำลังพัฒนาระบบโดยอิงจากข้อมูลในบันทึกสุขภาพและเวชระเบียนของผู้ป่วย เช่น เทคโนโลยี AI ที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล สามารถค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยร้ายแรงอันเป็นผลมาจากการติดเชื้อในกระแสเลือดได้อย่างน่าทึ่ง โดย AI ได้ศึกษาเรียนรู้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลประชากร ผลการตรวจเลือด ประวัติทางการแพทย์และการวินิจฉัยของผู้ป่วยประมาณ 8,000 รายที่โรงพยาบาล อิชิลอฟ (Ichilov) ในกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ซึ่งพบว่าคนไข้บางรายมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด นอกจากนี้ AI ยังสามารถระบุปัจจัยเสี่ยงทางการแพทย์ได้แบบอัตโนมัติด้วยความแม่นยำสูงถึง 82% ซึ่งในอนาคตหาก AI เหล่านี้ถูกพัฒนาจนถึงขั้นนำมาใช้งานได้อย่างเต็มที่แล้ว เชื่อว่าโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนในเมืองไทยจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานและช่วยลดความเสี่ยงให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที

เรื่องที่คุณอาจจะสนใจ

Data Security เก็บข้อมูลอย่างไรให้ปลอดภัย

Data Security เก็บข้อมูลอย่างไรให้ปลอดภัย คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ไม่ควรมองข้าม ต้องมีปัญหา “ความปลอดภัยของข้อมูล” (Data Security) โดยเฉพาะวงการธุรกิจการแพทย์และสุขภาพ ที่ต้องตอบโจทย์การทำงานทางไกลได้ ทำให้สถานพยาบาลหลาย ๆ แห่ง เริ่มให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลให้รอดพ้นจากอาชญากรทางไซเบอร์นำข้อมูลต่างๆ

Read More »
ศิริราช จับมือ เพอเซ็ปทรา สตาร์ทอัพไทยร่วมพัฒนา AI เพื่อรังสีวินิจฉัย

ศิริราช จับมือ เพอเซ็ปทรา สตาร์ทอัพไทยร่วมพัฒนา AI เพื่อรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลศิริราชเปิดตัว 2 นวัตกรรม พัฒนาการแพทย์รักษาผู้ป่วยด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) อ่านภาพเอกซเรย์และรายงานผลทางการแพทย์ และ รักษาโรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential

Read More »
“เพอเซ็ปทรา” จับมือ “ศิริราช” ร่วมพัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อรังสีวินิจฉัย ยกระดับการแพทย์ไทยสู่เวทีโลก

“เพอเซ็ปทรา” จับมือ “ศิริราช” ร่วมพัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อรังสีวินิจฉัย ยกระดับการแพทย์ไทยสู่เวทีโลก บจก. เพอเซ็ปทรา ขานรับนโยบายระบบการรักษาทางไกล (Tele Medicine) และประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ (Medical hub) ของเอเชีย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

Read More »