จะดีอย่างไรถ้าแพทย์และ AI ทำงานร่วมกัน

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ทางการแพทย์กลายเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไปสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะในปัจจุบันการผสมผสานการทำงานระหว่างมนุษย์และ AI ทางการแพทย์นั้นถูกผนึกรวมไว้เข้าด้วยกันเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ถูกนำมาใช้ในหลายฟังก์ชัน อาทิเช่น วิทยาศาสตร์การแพทย์ การบริหารจัดการข้อมูล การค้นพบและการพัฒนายา การปรับปรุงการสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วยหรือแม้แต่การใช้ AI วินิจฉัยโรค และยังมีอีกหลายอย่างที่ AI ทางการแพทย์สามารถเติมเต็มการทำงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายสูงสุดของสถานพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำงานอย่างฉลาดและรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์เริ่มทำให้หลายคนกังวลว่ามนุษย์จะถูกแทนที่ด้วย AI แต่จากข้อมูลของ MIT Technology Review Insights และ GE Healthcare พบว่าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเกือบครึ่งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษกล่าวว่าการที่ AI ทำงานร่วมกับแพทย์จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ในเชิงบวกให้ทั้งแพทย์และผู้ป่วย โดย AI ช่วยให้แพทย์สามารถใช้เวลากับผู้ป่วยและให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ จากการสำรวจนี้ทำให้เราเห็นว่าแท้จริงแล้ว การที่ AI ทำงานร่วมกับแพทย์ต่างหากที่จะช่วยเกื้อกูลการทำงานให้สำเร็จลุล่วงได้ นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ในด้านคุณภาพชีวิตของผู้คนนับล้านคนให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

 

ผลลัพธ์แห่งการผนึกกำลังเมื่อ AI ทำงานร่วมกับแพทย์ AI วินิจฉัยโรคช่วยให้แพทย์ทำงานได้คล่องตัวมากขึ้น

มีการศึกษาหลายชิ้นที่ค้นพบว่า AI ทางการแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างจากการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Medical Internet Research พบว่าอัลกอริทึมการเรียนรู้เชิงลึกใน AI ทางการแพทย์สามารถระบุมะเร็งผิวหนังได้ โดยทั่วไป AI จะสามารถวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยได้ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากบันทึกด้านสุขภาพและภาพการวินิจฉัยจาก X-rays โดย AI สามารถค้นพบรูปแบบที่อาจบ่งบอกถึงการมีอยู่ของโรค สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้แพทย์ทำงานได้ง่ายและเร็วขึ้น เพราะการที่ AI วินิจฉัยโรคได้จะช่วยเร่งกระบวนการวินิจฉัย ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสภาวะที่วินิจฉัยได้ยาก นอกจากนี้การที่ AI ทำงานร่วมกับแพทย์ก็จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการรักษาให้กับผู้ป่วยและสามารถมอบการรักษาให้กับผู้ป่วยได้ทันท่วงที ยิ่งในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคร้ายแรง โอกาสที่ผู้ป่วยจะรอดชีวิตก็จะสูงขึ้นด้วย

 

ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ช่วยจัดการกับข้อมูลมหาศาล

ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่แพทย์และสถานพยาบาลมักจะต้องเผชิญก็คือ เรื่องของการใช้ข้อมูลจำนวนมหาศาลเพื่อรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ลองนึกถึงข้อมูลจำนวนมากจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (EMR) เซ็นเซอร์ และอุปกรณ์สวมใส่ที่บันทึกข้อมูลทางสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละราย การใช้ระบบแบบดั้งเดิมในการจัดเก็บบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้อาจจะต้องเสียทรัพยากรและเสียเวลาจำนวนมาก ดังนั้นการใช้ AI ทางการแพทย์จะทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลทางคลินิกได้รวดเร็วกว่า และยังช่วยให้ตรวจสอบได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย จะเห็นได้ว่าในกรณีนี้ AI สามารถปลดล็อกความล่าช้าและอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม ตัวอย่างที่เปรียบเทียบได้อย่างชัดเจนอาทิเช่น IBM ได้ร่วมมือกับศูนย์มะเร็ง Memorial Sloan-Kettering (MSK) ในนิวยอร์กใช้ IBM Watson for Oncology เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากวารสารทางการแพทย์กว่า 290 ฉบับ ตำราทางการแพทย์มากกว่า 200 เล่ม และข้อมูลอื่นๆ กว่า 12 ล้านหน้า เพื่อค้นหาวิธีการรักษามะเร็งและข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งความสามารถแบบนี้ยากที่มนุษย์เราจะทำได้รวดเร็วเท่า แต่สิ่งสำคัญก็คือ การใช้ประโยชน์จาก AI ยังคงจะต้องต่อยอดและนำไปใช้งานอย่างถูกต้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่การรักษาผู้ป่วย

 

ช่วยแบ่งเบาภาระงานรูทีน

ผลการศึกษาจาก Annals of Internal Medicine พบว่าแพทย์ใช้เวลามากกว่า 2 ใน3 ของเวลาทำงานในการจัดการและสะสางงานด้านเอกสาร ซึ่งหากวิเคราะห์กันดีๆ แล้ว เวลาเหล่านี้สามารถนำไปใช้รักษาคนไข้หรือทำงานในด้านอื่นๆ ได้ แต่ในความเป็นจริงงานเอกสารและงานรูทีนยังเป็นสิ่งแพทย์ในหลายองค์กรต้องรับผิดชอบและจัดการให้ทันตามกำหนด ซึ่งหากมีการนำ AI ทางการแพทย์มาช่วยจัดการก็จะช่วยลดเวลาที่เสียไปกับงานพื้นฐานรูทีนได้ ซึ่งถือเป็นการช่วยลดภาระของแพทย์ได้โดยตรง การทำงานของอัลกอริทึม AI จะช่วยในการจัดระเบียบบันทึกของแพทย์และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การแจ้งเตือนการใช้ยาและการประเมินอาการ โดยตามรายงานของ Medscape พบว่า โดยเฉลี่ยแพทย์ใช้เวลาประมาณ 13-16 นาทีกับผู้ป่วยแต่ละราย แต่การใช้ AI มาช่วยจัดการงานต่างๆ เหล่านี้จะทำให้แพทย์สามารถอุทิศเวลาให้กับผู้ป่วยได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเครียดในการทำงานให้กับแพทย์ได้เช่นกัน

ไม่ว่า AI วินิจฉัยโรคจะทำงานได้รวดเร็วสักเพียงใด แต่สิ่งสำคัญก็คือ เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้เพื่อช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระแพทย์ และไม่สามารถมาแทนที่แพทย์ได้ เนื่องจากปฏิบัติการทางการแพทย์ การรักษา การดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วย การสื่อสารด้วยความเห็นอกเห็นใจต่างก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า หน้าที่เหล่านี้ยังต้องกระทำโดยมนุษย์เท่านั้น ดังนั้นการทำงานร่วมกันระหว่าง AI และแพทย์จึงถือเป็นการส่งเสริมกระบวนการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยได้ดีที่สุด

 

ที่มา

Artificial Intelligence for Skin Cancer Detection: Scoping Review

Good Thinking: AI Can Help Doctors Spend More Time With Their Patients

The AI effect: How artificial intelligence is making health care more human

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Resources

Have you ever heard that good AI needs a massive amount of data to learn? While that's certainly true, it's actually just one piece of the puzzle. Perceptra model team believes that true "good" AI in medical imaging goes beyond the size
Greetings, health enthusiasts! As we step into the promising landscape of 2024, the healthcare sector is undergoing a transformative evolution, thanks to cutting-edge technologies. From AI-powered diagnostics to regulatory controls and patient-doctor communication, this year holds the promise of groundbreaking innovations