“AI จะแย่งงานไหม” หรือ “สักวัน AI จะเข้ามาทำงานนี้แทนไหม” อาจจะเป็นคำถามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับใครหลาย ๆ คน แม้ว่าจะมีคำอธิบายมากมายจากหลายแหล่งเกี่ยวกับ AI ทางการแพทย์ว่า การทำงานของ AI จะเพิ่มประสิทธิภาพได้มากที่สุดก็ต่อเมื่อนำมาประยุกต์ใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็ยังวิตกกังวลว่าปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์หรือ AI จะมาแย่งงานเราหรือไม่ ซึ่งความกังวลเหล่านี้จะจางหายไป หากเรารู้และเข้าใจว่าแท้จริงแล้ว AI ทำงานร่วมกับแพทย์ได้อย่างไรบ้าง ดังนั้นเราลองมาทำความเข้าใจการทำงานของ AI ในอุตสาหกรรม Healthcare เพื่อเรียนรู้ว่าหัวใจสำคัญของ AI ทางการแพทย์ในแต่ละส่วนนั้นช่วยอะไรและมีเรื่องใดที่มนุษย์ควรเรียนรู้เพื่อปรับตัวก่อนที่จะนำ AI มาใช้ในองค์กร
เรียนรู้วิธีใช้ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์เพื่อการจัดการองค์กร
หากติดตามข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับ AI ทางการแพทย์ หลายคนมักจะเคยได้ยินว่า AI นั้นฉลาดล้ำจนถึงขั้นที่มีการใช้ AI วินิจฉัยโรคเลยก็ว่าได้ แต่จากการสำรวจของ OLIVE ผู้ให้บริการ AI ทางการแพทย์แห่งหนึ่งพบว่า หลังจากที่มีนำระบบ AI เข้ามาใช้การทำงาน กระบวนการต่างๆ ก็มีความเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น โดยปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ช่วยในการตรวจสอบคุณสมบัติและกระบวนการในการขออนุญาตได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้การที่ AI สามารถประมวลข้อมูลได้รวดเร็ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการเรียกเก็บเงินจากลูกค้าด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การใช้ AI เข้าสู่ระบบ EMR เพื่อตรวจสอบข้อมูลการใช้ประกันภัยและตรวจสอบผลประโยชน์อย่างรวดเร็วและแม่นยำที่ ช่วยทำให้พนักงานสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น อีกตัวอย่างจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งพบว่า หลังจากเริ่มใช้ AI ในการบริหารจัดการ ผลปรากฏว่าอัตราการเก็บเงินล่าช้าลดลงถึง 30% เลยทีเดียว

นำ AI วินิจฉัยโรคมาช่วยเพื่อการรักษาที่ดีขึ้น
การวินิจฉัยที่แม่นยำเป็นพื้นฐานของระบบการรักษาพยาบาลทั่วโลก ยิ่งการวินิจฉัยได้แม่นยำและรวดเร็วเท่าไหร่ โอกาสในการรักษาก็จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น จากข้อมูลของ SMA (Southern Medical Association, USA) พบว่าในสหรัฐอเมริกาจะมีผู้ป่วยนอกประมาณ 5% ที่ได้รับการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง โดยในบางกรณีอาจจะเกิดข้อผิดพลาด แต่ความผิดพลาดนั้นคงไม่แย่เท่ากับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ป่วย ดังนั้น AI วินิจฉัยโรคจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในหลายโรงพยาบาล จากข้อมูลของ Nature Communications โดย Dr.Jonathan Richens ได้อธิบายความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ไว้ว่า ปัจจุบันมีการปรับแต่งโดยเพิ่มความสามารถในการจินตนาการถึงทางเลือกและความเป็นจริงให้กับ AI ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ AI สามารถประมวลผลได้ดียิ่งขึ้น เช่น AI จะสามารถวิเคราะห์ว่าจะมีอาการนี้หรือไม่หากเป็นโรคอื่น โดยปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ได้คะแนนมากกว่า 70% สำหรับการทดสอบนี้ ด้วยประสิทธิผลต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นตัวช่วยในการยกระดับระบบการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้
AI ทำงานร่วมกับแพทย์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารข้อมูล
เป็นที่ทราบกันดีว่าบันทึกของแพทย์ รวมถึงประวัติและรายละเอียดต่างๆ ของผู้ป่วยในแต่ละวันนั้นมีปริมาณมหาศาล แต่จากข้อมูลของ AMA (American Medical Association) พบว่าโซลูชั่น AI สามารถช่วยให้แพทย์ทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยจากการศึกษาที่โรงพยาบาล New York – Presbyterian พบว่ามีการใช้ AI เข้ามาช่วยในการทำงาน ผลลัพธ์ก็คือ แพทย์สามารถเข้าถึงและเข้าใจประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วยได้รวดเร็วขึ้น โดยโครงการนำร่องนี้มีผู้ใช้งานมากถึง 10,000 รายต่อเดือนในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ดอกเตอร์ Noémie Elhadad (PhD) รองศาสตราจารย์ด้านสารสนเทศชีวการแพทย์ ซึ่งเป็นสมาชิก Computer Science and the Data Science Institute ที่มหาวิทยาลัย Columbia ได้อธิบายผลจากการทดสอบว่า สำหรับโครงการนี้ถือว่าแพทย์จากแผนกฉุกเฉินได้ใช้งานระบบ AI อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะระบบสามารถเพิ่มความคล่องตัวและมอบความรวดเร็วให้กับหน้างานที่มีความเร่งด่วนอย่างแผนกฉุกเฉินได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหากเราเรียนรู้ที่จะใช้ AI ให้เหมาะสม AI จะกลายเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากที่สุดในสถานการณ์ที่มีเวลาอันจำกัด
ใช้งาน AI เพื่อทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงแพทย์ได้ง่ายขึ้น
แม้ว่าคนไข้จะสามารถเดินทางมาโรงพยาบาลเพื่อรอพบแพทย์ได้เอง แต่บริบทของการใช้ชีวิตในช่วง Covid-19 ทำให้หลายอย่างเปลี่ยนไป ทางเลือกอีกทางจากการใช้ AI เข้าช่วยก็คือ การให้คำปรึกษาคนไข้ผ่านทางออนไลน์ ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการระบบ AI อย่าง Babylon Health ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI โดยช่วยเสริมการให้บริการของ Healthtech GP at Hand ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยโซลูชั่น AI จะทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการปรึกษาแพทย์ทางโทรศัพท์หรือวิดีโอได้อย่างรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยแล้ว ระบบยังมีการสร้างนัดหมายแบบดิจิทัล ซึ่งช่วยให้แพทย์ทำงานได้สะดวกและมีเวลาในการช่วยเหลือผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น
หลายครั้งหลายหนที่สื่อหรือการพาดหัวข่าวอย่างเกินจริงทำให้ผู้คนต่างตื่นตระหนกว่า AI จะเข้ามามีบทบาทและแย่งงานในหลายสาขาอาชีพ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์นับเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ดังนั้นหนทางในการปรับตัวเพื่อที่จะอยู่ร่วมและใช้งานเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือการทำความเข้าใจในพื้นฐานของเทคโนโลยี AI ทางการแพทย์ รวมถึงหมั่นอัปเดตเทคโนโลยี AI ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เรารู้ว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อคนไข้และองค์กรได้อย่างไรบ้าง
Sources
อ่านเพิ่มเติม
การวัดผล AI ใน Healthcare เรื่องใหม่ที่ต้องใส่ใจก่อนเลือกใช้โซลูชั่น
การวัดผล AI ใน Healthcare เรื่องใหม่ที่ต้องใส่ใจก่อนเลือกใช้โซลูชั่น การนำเทคโนโลยี AI มาใช้นั้นน่าจะเป็นการลงทุนในการพัฒนาศักยภาพองค์กรที่คุ้มค่า แต่ในขณะเดียวกันก็มีความท้าทายจากหลากหลายปัจจัย ดังนั้นการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยี AI ก็ควรจะเลือกระบบที่มีความเหมาะสมกับความต้องการขององค์กรให้มากที่สุด ด้วยเหตุนี้เราจึงควรจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ ซึ่งจะทำให้เราสามารถเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ขององค์กรกับศักยภาพในการทำงานของ AI
ทำไมมะเร็งเต้านมถึงน่ากลัว
ทำไมมะเร็งเต้านมถึงน่ากลัว มะเร็งเต้านม นับเป็นภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้ามโดยเฉพาะผู้หญิงไทยและทั่วโลก เพราะเป็นโรคมะเร็งอันดับ 1 ในผู้หญิง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุด และเพิ่มขึ้นทุกปีสำหรับผู้หญิง จนกลายเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั่วโลก ในทุก ๆ 2 นาทีจะมี ผู้หญิงอย่างน้อย 1
ศิริราช จับมือ เพอเซ็ปทรา สตาร์ทอัพไทยร่วมพัฒนา AI เพื่อรังสีวินิจฉัย
ศิริราช จับมือ เพอเซ็ปทรา สตาร์ทอัพไทยร่วมพัฒนา AI เพื่อรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลศิริราชเปิดตัว 2 นวัตกรรม พัฒนาการแพทย์รักษาผู้ป่วยด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) อ่านภาพเอกซเรย์และรายงานผลทางการแพทย์ และ รักษาโรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential