AI ช่วยวินิจฉัยโรคอะไรได้บ้าง

การใช้ AI เข้ามาช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ช่วยให้แพทย์สามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้น โดย AI ทางการแพทย์นั้นถูกออกแบบมาหลากหลายแขนงเฉกเช่นเดียวกับแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ซึ่งการใช้ AI ช่วยวิเคราะห์นั้นถือเป็นการเสริมกำลังให้แก่ทีมแพทย์และช่วยยกระดับในการรักษาให้กับผู้ป่วย ดังนั้นหากเลือกใช้ AI ให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน AI ก็จะเป็นเหมือนเครื่องมืออันทรงพลังที่แพทย์สามารถนำมาใช้ช่วยในการค้นหาแนวทางรักษาที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วยได้ ดังนั้นลองมาดูกันว่า AI ทางการแพทย์มีอะไรบ้าง

AI วินิจฉัยโรคกับชีวิตประจำวัน

การใช้ AI วินิจฉัยโรคทางการแพทย์สามารถทำได้ตั้งแต่ในระดับเบื้องต้นไปจนถึงระดับที่ซับซ้อน แต่ AI ทางการแพทย์ไม่จำเป็นจะต้องถูกใช้ในสถานพยาบาลเท่านั้น เพราะบริษัทระดับโลก ต่างก็เริ่มออกอุปกรณ์ด้านสุขภาพที่เราสามารถสวมใส่ติดตัวได้ตลอดเวลา อาทิเช่น Smartwatch หรือ Heart Rate Monitor ซึ่งทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่จะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ด้านสุขภาพไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ FitBit, Garmin หรือ Apple Watch ซึ่งคุ้นเคยกันดี อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยบันทึกข้อมูลทางสุขภาพได้ตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน เช่น การดื่มน้ำในแต่ละวัน การพักผ่อน การออกกำลังกาย ไปจนถึงระดับความดันโลหิตและชีพจร นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีที่กำลังรุดหน้า ทำให้มีความพยายามผสานการทำงานเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อคาดการณ์อาการของโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งจะช่วยป้องกันและดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที 

AI กับการวินิจฉัยระหว่างผ่าตัด

ตามรายงานในวารสาร Nature Medicine พบว่านอกจากการวินิจฉัยโรคและอาการโดยทั่วไปแล้ว แพทย์ยังสามารถใช้ AI ทางการแพทย์ในการวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อในระหว่างผ่าตัดผู้ป่วยได้ โดยข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการผ่าตัดสมองและการรักษาอย่างต่อเนื่องได้อย่างน่าสนใจ โดยหากเปรียบเทียบกับวิธีการดั้งเดิม ซึ่งต้องส่งเนื้อเยื่อไปที่ห้องแล็บ ผ่านกระบวนการแช่แข็งและย้อมสี จากนั้นตรวจสอบผ่านกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 20 ถึง 30 นาทีหรืออาจจะนานกว่านั้น เทคนิคใหม่ที่ใช้ AI ด้านสุขภาพ หรือปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์เข้าช่วยนั้นใช้เวลาเพียง 2 นาทีครึ่ง นอกจากจะช่วยย่นระยะเวลาการทำงานแล้ว AI ยังสามารถตรวจจับรายละเอียดได้ในแบบที่วิธีเดิมๆ ทำได้ยาก เช่น การตรวจการแพร่กระจายของเนื้องอกไปตามเส้นใยประสาท

AI วินิจฉัยโรคและ AI ทางการแพทย์มีอะไรบ้าง

AI หรือปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ได้ถูกพัฒนาความสามารถในด้านการวินิจฉัยและการวิเคราะห์โรค รวมถึงยังสามารถช่วยในการวิเคราะห์ขั้นตอนการรักษาดูแลและการใช้ยาได้อย่างดีอีกด้วย โดยข้อมูลจาก Nature Communications โดย ดร. Jonathan Richens ได้ชี้แจงไว้ว่า AI ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล และให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วย นอกจากนี้ยังช่วยให้แพทย์สามารถพิจารณาถึงผลข้างเคียงและความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นได้ โดย AI สามารถคาดคะเนได้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการนี้หรือไม่หากเป็นโรคอื่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า AI สามารถแยกแยะสาเหตุและความแตกต่างของโรคและอาการได้ ประสิทธิผลเหล่านี้ทำให้ AI ได้คะแนนจากการทดสอบมากกว่า 70% เลยทีเดียว ในปัจจุบันการศึกษาและการพัฒนา AI ในโรคต่างๆ ค่อนข้างรุดหน้า ซึ่งข้อมูลต่อไปนี้ถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจและเป็นแนวทางที่อาจจะนำมาใช้ได้ในอนาคตอันใกล้

AI กับการวินิจฉัยโรคมะเร็ง

แม้ว่าผู้คนจะสงสัยว่า AI ทางการแพทย์มีอะไรบ้าง แต่โรคสำคัญอย่าง ‘มะเร็ง’ มักจะเป็นโรคที่ผู้คนให้ความสนใจ ซึ่ง AI ด้านสุขภาพก็มีผลงานวิจัยที่น่าสนใจทางด้านนี้ โดยจากการร่วมมือระหว่างทีมงานจากเยอรมนี สหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ในเรื่องการใช้ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์เพื่อแยกแยะรอยโรคผิวหนังที่เป็นอันตรายออกจากโรคที่ไม่ร้ายแรง โดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายมากกว่า 100,000 ภาพ จากการทดสอบพบว่า AI สามารถวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายของผิวหนังผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำสูงถึง 95% ในขณะที่การวินิจฉัยจากมนุษย์ทำได้เพียง 87% ล่าสุด Google จึงได้พัฒนาอัลกอริทึม “LYNA” (Lymph Node Assistant) ซึ่งเป็น AI ที่สามารถวิเคราะห์ผลการตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองและวินิจฉัยมะเร็งระยะลุกลามได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถวิเคราะห์โรคได้แม่นยำถึง 99%

AI กับการวินิจฉัยโรคทางพยาธิวิทยา

นักวิจัยจาก Harvard Medical School ได้สร้างอัลกอริทึมที่สามารถตรวจจับและวินิจฉัยเนื้องอก โดยอัลกอริทึมเหล่านี้สามารถวิเคราะห์และวินิจฉัยเนื้องอกประเภทต่างๆ ได้ โดยนักวิจัยได้ใส่คำอธิบายและแยกระหว่างส่วนที่เป็นมะเร็งและไม่เป็นมะเร็งเพื่อให้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์สามารถแยกแยะความแตกต่างได้ โดยผลจากการศึกษาพบว่า AI ด้านสุขภาพมีความแม่นยำในอัตราสูงถึง 92% แต่ทั้งนี้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้มากกว่านั้นถ้าหากมนุษย์และ AI ทำงานร่วมกัน โดยพบว่าหากทั้งสองฝ่ายผนึกกำลังกันจะได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยมด้วยอัตราความสำเร็จสูงถึง 99.5%

AI กับการวินิจฉัยโรคปอด

จากการวิจัยของ European Respiratory Society International Congress ได้มีการศึกษาโดยการสร้างอัลกอริทึมเพื่อช่วยให้ AI สามารถวิเคราะห์การทดสอบการทำงานของปอดที่อาจจะตรวจพบได้ยาก โดยได้ทำการศึกษาร่วมกับแพทย์ระบบทางเดินหายใจ 120 คนจากโรงพยาบาล 16 แห่ง และใช้ประวัติผู้ป่วยเดิมจำนวน 1,430 ราย จากโรงพยาบาลในประเทศเบลเยียม 33 แห่งเป็นข้อมูลพื้นฐาน ผลการศึกษาพบว่า AI สามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำมากถึง 2 เท่า ซึ่งทำให้เห็นว่าการวิเคราะห์ของ AI สามารถนำไปแปลผลและใช้งานเป็นความเห็นที่สองทางการแพทย์ได้อย่างมีนัยสำคัญ

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Resources

If AI in medical imaging is inevitable, what should radiologists know? The insight led by Arunnit Boonrod, M.D. and lecturer at Department of Radiology, Khon Kaen University.
Have you ever heard that good AI needs a massive amount of data to learn? While that's certainly true, it's actually just one piece of the puzzle. Perceptra model team believes that true "good" AI in medical imaging goes beyond the size