มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาหายก่อน แค่พูดชื่อมะเร็งเต้านมสาว ๆ ก็อาจจะเริ่มหวั่นใจและนึกถึงความร้ายแรงของโรคเนื่องจากมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงไทยและก็ยังเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตหญิงสหรัฐเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด แต่ถึงอย่างไรตามความน่ากลัวของมะเร็งเต้านมจะถูกลดลงไปหากเราตรวจพบไวขึ้น การตรวจหามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการตรวจด้วยตนเองทุก ๆ เดือน การตรวจโดยเจ้าหน้าที่ (Clinical Breast Examination) ตรวจอัลตราซาวด์ และตรวจแมมโมแกรมซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับว่าแม่นยำที่สุดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการตรวจแมมโมแกรมก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากไม่ใช่ทุกช่วงอายุจะเหมาะกับการตรวจแมมโมแกรมไปเสียทีเดียว จึงอาจจะต้องทำการตรวจอัลตราซาวด์ควบคู่ไปด้วยหรือใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วย แต่ถึงอย่างนั้นเองเราก็ควรตรวจด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอแม้ไม่มีอาการเพราะอย่าลืมว่า ยิ่งตรวจเร็ว ยิ่งมีโอกาสรักษาให้หายได้ เรามาดูกันดีกว่าว่าที่บอกว่าเร็ว ต้องเร็วแค่ไหนกัน ต้องตรวจไวแค่ไหนถึงจะรักษาทัน โดยทั่วไปเราควรจะตรวจเช็คหาอาการผิดปกติก่อนที่ร่างกายจะอาการใดๆแสดงออกมา การที่เราหาความผิดปกติเจอก่อนนั้นก็มีโอกาสสูงว่าจะเป็นเพียงแค่ระยะแรกเริ่ม ทำให้เรามีโอกาสรักษาให้หายขาดได้มากขึ้นนั่นเอง ดังนั้นหากถามว่าต้องตรวจไวแค่ไหนถึงจะทัน คำตอบก็คงจะเป็นตรวจไวที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ผู้หญิงต่างวัย ต่างความเสี่ยง ก็จะมีวิธีการตรวจคัดกรองที่ต่างกันออกไป อย่างเช่น ในผู้หญิงที่ครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม ก็อาจจะต้องเข้ารับการตรวจด้วยแมมโมแกรมเร็วขึ้นกว่าผู้หญิงที่ครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม จากข้อมูลศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี แนะนำแนวทางการตรวจคัดกรองไว้ดังนี้ แนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละครั้งและตรวจโดยแพทย์ทุก 3 ปี ผู้หญิงอายุ 40 – 69 ปี… Continue reading มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาหายก่อน